วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

จะหย่าจะแต่ง..ก็ต้องรู้ไว้ "สินสมรส-สินส่วนตัว"

จะหย่าจะแต่ง..ก็ต้องรู้ไว้ "สินสมรส-สินส่วนตัว"


เงินทองเป็นของนอกกาย แต่ก็น้อยคนนักที่จะหักใจ ไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง หรือ พ่อแม่ลูกก็ตาม เงินก็ทำให้ความรักของ คนเหล่านั้นหดหายไปได้

หลายคู่ที่แต่งงานโดยไม่ได้คำนึงถึงเธอรวย หรือ ฉันจน หรือใครจะคุมกองคลังของครอบครัว แต่เมื่อความรักล่มสลาย

ทั้งสองฝ่ายต่างต้องประหลาดใจที่กฎหมายระบุต่างจากที่น่าจะเป็น หลายรายเป็นฝ่ายเข้ามาควบคุมกำกับดูแลการใช้จ่าย

ในครอบครัว แต่เอาเข้าจริงกลับต้องสูญเสียสิ่งที่คิดว่าเป็นสิทธิของตัวเอง เพราะกฎหมายกับความเข้มใจนั้นเป็นคนละเรื่องเดียวกัน

เมื่อแต่งงานกันแล้ว ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรเป็นส่วน คือ
 1. ส่วนที่เป็นสินสมรส (คือ เป็นเจ้าของทรัพย์สินร่วมกัน มีส่วนแบ่งกันคนละครึ่ง) กับ
 2. ส่วนที่เป็นสินส่วนตัว (คือ เป็นทรัพย์สินของใครของมัน ไม่กระเด็นไปยังภรรยาหรือสามี) 
แต่อาจจะสับสนบ้างว่า อย่างไหนที่จะส่วนตัว อย่างไหนที่จะร่วมกันเป็นเจ้าของตามกฤหมาย

สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และบรรดาที่เป็นสินส่วนตัวด้วย ส่วนสินส่วนตัวนั้น ได้แก่ ทรัพย์สินที่มีอยู่

แล้วก่อนสมรส หรือบรรดาที่เป็นเครื่องใช้ส่วนตัวทั้งหลาย จนถึงเครื่องประดับตามฐานะ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น

ในการประกอบอาชีพ แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่านอกจากนั้นแล้ว กฎหมายยังขยายความถึงทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสที่มีคนยกให้ หรือได้มรดกมาด้วย แต่ถ้ายกให้หรือเป็นมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุว่าให้เป็นสินสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส

เรามักได้ยินข่าวที่พ่อแม่ไม่อยากยกที่ดินให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้ว เพราะกลัวจะกลายเป็นสินสมรส แท้จริงแล้ว การยกให้ในระหว่างสมรส ไม่ได้ทำให้ทรัพย์สินนั้นกลายเป็นสินสมรส เว้นเสียแต่ระบุในหนังสือยกให้ว่าเป็นสินสมรส ยิ่งถ้าเป็นมรดกก็แน่นอน

ที่จะเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสจะได้ส่วนแบ่งในสินส่วนตัวต่อเมื่อเราจากโลกนี้ไปแล้ว สินส่วนตัวจึงกลายเป็นมรดก 

เวลาจะแต่งงานก็ไม่ค่อยคิดเรื่องนี้ จะมานึกออกก็ตอนต้องแบ่งสมบัติ ซึ่งมักจะแบ่งตอนที่ฝ่ายหนึ่งอยากหย่ากับอีกฝ่ายหนึ่ง

โดยเฉพาะบ้านที่ใช้เป็นเรือนหอของเขาและเธอที่เคยสร้างด้วยเงินส่วนตัวของฝ่ายหนึ่ง หรือจากการที่พ่อแม่ของฝ่ายหนึ่งยกให้เป็นของขวัญแต่งงาน

แบบนี้ไม่เหมือนการให้ของขวัญในวันฉลองแต่งงานที่ถือซอง ถือของกันมาเอิกเกริก อย่างนั้นเป็นการให้ที่ชัดเจน ให้แก่คู่บ่าวสาวทั้งสองเนื่องในโอกาสแต่งงาน เป็นสินสมรสแน่นอน แต่ถ้าให้ที่ดิน บ้าน จะให้แน่ต้องสืบตามที่กฎหมายว่าไว้ก็คือ การให้จะมี

ผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการให้ที่สำนักงานที่ดิน และในการให้ที่จะเป็นสินสมรสนั้น กฎหมายก็เขียนไว้ชัดแจ้งว่า การให้เป็นหนังสือยกให้ต้องระบุว่าเป็นสินสมรส ซึ่งจะเป็นสินสมรส ดังนั้น ถ้าจะให้ใครคนนึงหรือจะให้ทั้งสอง ก็ควรระบุให้ชัดเจน

ยกตัวอย่าง เช่น เสกสรรมีเงินฝากในธนาคารก่อนแต่งงาน เป็นเลข 6 หลัก เขาไม่คิดจะปกปิดภรรยาเพราะทราบดีว่า ถึงรู้ไปก็ไม่น่าเดือดร้อน เพราะเขามีบัญชีร่วมระหว่างเขากับภรรยาแล้ว ส่วนบัญชีเดิมเป็นสินส่วนตัวของเขา แต่หลังจากที่เขากับเธอมีปัญหาจนถึงขั้นแยกทางกัน เงินในบัญชีส่วนตัวของเขาก็ถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการแบ่งสมบัติ และนำไปสู่การฟ้องศาล

ตามกฎหมาย แม้เงินฝากที่ธนาคารในบัญชีของเสกสรร จะเป็นเงินส่วนตัวที่มีก่อนสมรส แต่ในการฝากเงินย่อมต้องมีดอกผลงอกเงย ภรรยาของเสกสรรไม่ลืมข้อนี้ เธอจึงอ้างเอาดอกเบี้ยเงินฝากของบัญชีดังกล่าว ซึ่งถือเป็นสินสมรสมาขอแบ่งด้วย เมื่ออยู่ด้วยกันกว่า 6 ปี จึงมีเงินฝากหลายล้าน งานนี้อดีตคุณผู้หญิงของเสกสรรมีส่วนแบ่งจากดอกเบี้ยไม่น้อยทีเดียว

ชื่อที่ปรากฏในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้สินสมรสกลายเป็นสินส่วนตัว เพราะกฎหมาย 
กล่าวว่า ถ้ากรณีที่สงสัยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส ฝ่ายที่เถียงว่าไม่ใช่ ต้องมีภาระหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ ถ้าเสกสรรเห็นว่า
ตัวเองทำงานงกเงิ่นอยู่คนเดียว จึงสมควรควบคุมดูแลด้านการเงินทุกอย่างอยู่ในชื่อตัวเขาเอง เงินทองทรัพย์สินเหล่านนั้นก็ยังเป็นสินสมรสอยู่ดี แม้จะไม่มีชื่อภรรยาปรากฏอยู่ก็ตาม

ไม่ว่าจะมีชื่อใครอย่างไร แต่เมื่อเป็นสินสมรสแล้ว กฎหมายให้อำนาจทั้งสองฝ่าย ในการจัดการทรัพย์สินนั้นได้โดยอิสระ ไม่ต้องมาขออนุมัติก่อน เว้นแต่เสียบางเรื่องที่อาจจะกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว กฎหมายก็จะบังคับให้ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

อีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ พิเชษฐ์ทำงานเป็นนิติกร อยู่ฝ่ายเร่งรัดหนี้สินในบริษัทแห่งหนึ่ง เขาได้อาศัยโอกาสเกี่ยวข้องเรื่องที่ดินนำมาซื้อขายอยู่เนืองๆ แต่ภรรยาของเขาไม่รู้เรื่องนี้เท่าใดนัก รู้เพียงว่า พิเชษฐ์มีที่ดินอยู่ในเมืองหลายแปลง ปล่อยขายได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่เธอก็สงสัยว่า ทำไมไม่มีการมาขออนุญาตตามกฎหมายจากเธอ

ในทางปฎิบัติ เจ้าพนักงานที่ดินไม่มีวันรู้ว่า พิเชษฐ์แต่งงานหรือไม่ เพราะไม่ได้เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ ดังนั้น ในการขายที่ดิน เขาจึงลอยตัวโดยแสดงต่อเจ้าพนักงานว่าตนเป็นชายโสด เว้นเสียแต่จะมีหลักฐานปรากฏให้เห็น เช่น สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่หลังเดียวกับลูกๆ และระบุชื่อแม่ของลูกไว้ (การแจ้งเท็จมีความผิดทางอาญา) ซึ่งถ้าถือตามกฎหมายแล้ว การขายที่ดินที่เป็นสินสมรส (เพราะได้มาในระหว่างแต่งงาน) จะต้องได้รับความยินยอมจากภรรยาเขา

แต่ในการซื้อนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ คงเป็นเพราะการซื้อของเข้าบ้าน น่าจะเป็นการทำให้หลักทรัพย์ของครอบครัวมากขึ้น ไม่กระทบถึงความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว จึงไม่ต้องขอความยินยอม
หรือกรณีที่สามีมีภรรยาหลายบ้าน และถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินขอให้จัดการให้สามีเซ็นยินยอมในการซื้อที่ดิน ถ้าหย่าก็ต้องเอาใบหย่ามา  ถ้าเป็นหม้ายก็เอามรณบัตรมา  ซึ่งตามกฎหมายแล้ว การซื้อที่ดินไม่ต้องขอความยินยอมจากคู่สมรส  โดยอาจเป็นระเบียบภายในที่ทำกันไว้ในยุคที่ใช้กฎหมายเก่า ซึ่งกำหนดให้ภรรยาไม่มีความสามารถทำนิติกรรมถ้าสามีไม่อนุญาต

แล้วถ้างุบงิบซื้อที่ดินให้มือที่สาม หรือมีการโยกบัญชีซุกหุ้นที่ซื้อมาให้สาวอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาแล้ว บรรดาภรรยาหลวงมีสิทธิตามกฎหมายที่จะตามล้างตามล่ากันได้

เห็นน่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น